วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น

การบ้านวันที่  10  พฤศจิกายน  2553
คำถามท้ายบทที่  1

1. จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน
ตอบ   ในอดีตจะมีการจัดการข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลคือจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลหลักไว้และมีข้อมูลสำรองสำหรับแก้ไขเป็นข้อมูลใหม่จากข้อมูลหลัก ระบบแฟ้มข้อมูลของแต่ละหน่วยงานถูกเขียนขึ้นด้วยหลาย ๆ โปรแกรม การใช้งานของแต่ละหน่วยงานก็แตกต่างกัน การป้อนข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลก็ควรป้อนทั้งสองแฟ้มข้อมูลให้เหมือนกันและมีแฟ้มข้อมูลที่เป็นอิสระต่อกันคือเป็นหน่วยงานไหนก็ต้องใช้แฟ้มข้อมูลของตนเองเท่านั้นจนถึงปัจจุบัน 
      ในปัจจุบันจึงมีการใช้ระบบจัดการข้อมูลที่เรียกว่า ระบบฐานข้อมูล DBMS ที่มีการจัดการข้อมูลที่ง่ายต่อการค้นหาหรือใช้ข้อมูลโดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกัน DBMS จะเป็นโปรแกรมที่รู้ว่าจะใช้ข้อมูลอะไรจะไม่ผูกติดโปรแกรมเรียกใช้ไม่ว่าข้อมูลจะต้องใช้โปรแกรมเรียกใช้อะไร DBMS ก็จะสามารถดึงข้อมูลที่เราต้องการจากฐานข้อมูลมาให้ได้ทันทีจึงสะดวกในการใช้งานเรียกใช้ข้อมูลกว่าในอดีตแต่ต้องใช้ต้นทุนสูง
2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ      1. บิต :
                   คือ  ประกอบไปด้วยเลขฐานสอง ใช้แทนหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์
              2. ไบต์ :

                   คือ  เป็นการนำบิตหลายๆๆบิตมาเรียงต่อกัน เพื่อให้เกิดอักขระหนึ่งตัว          
           3. ฟิลด์  (Field)
ฟิลด์ คือ อักขระที่มารวมกันแล้วก่อให้เกิดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ชื่อ สกุล  อายุ  เงินเดือน  ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  เป็นต้น
4. เรคคอร์ด  (Record)
เรคคอร์ด คือ ฟิลด์ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น เรคคอร์ดนักศึกษาจะประกอบ ด้วยรายละเอียดของข้อมูลนักศึกษา  ฉะนั้นข้อมูลนักศึกษา  1  คน จะเป็น  1  เรคคอร์ด
5. แฟ้มข้อมูล  (File)
แฟ้มข้อมูล คือ เรคคอร์ดหลาย ๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันมารวมกัน ปัจจุบันแฟ้มข้อมูลมี หลายประเภท แฟ้มข้อมูลที่จะนำมาใช้ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อาจมีแฟ้มข้อมูลเดียวหรือหลายแฟ้มข้อมูล แฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
          5.1 แบ่งประเภทตามลักษณะของข้อมูล  ได้แก่
- แฟ้มข้อมูลโปรแกรม (Program  file) เป็นแฟ้มข้อ มูลที่เก็บโปรแกรมคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 
- แฟ้มข้อมูลข้อความ (Text  file) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลเป็นข้อความเช่น แฟ้มเอกสารต่าง ๆ ที่มีสกุล  .txt, .csv  เป็นต้น
- แฟ้มข้อมูลเสียง (Sound  file)  เป็นแฟ้มข้อมูลเสียงที่มีสกุล  .mid (midi) หรือสกุล .wav (wave)  เป็นต้น
- แฟ้มข้อมูลวีดิโอ(Video file)เป็นแฟ้มข้อมูลที่มีสกุล .ave, .mov, .mpg
- แฟ้มข้อมูลภาพกราฟิก(Graphic file) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นรูปภาพที่มีสกุล .bmp, .jpg, .gif, tif, .png  เป็นต้น
            5.2  แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้แก่
แฟ้มข้อมูลหลัก (Master  file)  หรือแฟ้มข้อมูลถาวรคือ  แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลสำคัญซึ่งต้องการเก็บไว้อย่างถาวร การปรับปรุงจะใช้ข้อมูลจากแฟ้มรายการ  ในงานหนึ่ง ๆอาจมีแฟ้มข้อมูลหลักมากกว่า  1  แฟ้มก็ได้  ตัวอย่างแฟ้มข้อมูลหลัก เช่น แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลรายการสินค้า เป็นต้น
-         แฟ้มรายการ  (Transaction  file)  หรือแฟ้มข้อมูลชั่วคราว คือ  แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลักเก็บเป็นรายการย่อย ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปทำการปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลัก  เช่น  แฟ้มข้อมูลการชำระหนี้ของลูกค้า  รายการขายสินค้าประจำวัน  รายการเงินฝาก ถอน  การสำรองเที่ยวบิน  เป็นต้น

ในการปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูลหลัก โดยทั่วไปจะใช้แฟ้มข้อมูล 2 แฟ้ม โดยแฟ้มแรกใช้เก็บข้อมูลหลักที่กำลังทำการปรับปรุงแก้ไข แฟ้มที่สองจะเก็บข้อมูลเฉพาะรายการเปลี่ยนแปลง
-         แฟ้มข้อมูลสำรอง (Backup  file)  หมายถึง  แฟ้มข้อมูลที่ได้จากการทำสำเนาแฟ้มข้อมูลสำคัญเอาไว้ใช้ในกรณีที่แฟ้มข้อมูลสำคัญมีปัญหาอาจใช้แฟ้มข้อมูลสำรองแทน
3.การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
 ตอบ   1.ข้อมูลถูกเก็บและเก็บแยกจากกัน เมื่อข้อมูลต่าง ๆ ถูกเก็บกันไว้คนละไฟล์ หากต้องการนำข้อมูลต่าง ๆ มาสร้างเป็นรายงาน โปรแกรมเมอร์ต้องสร้างไฟล์ชั่วคราว (Temporary file) ขึ้นมา เพื่อดึงข้อมูลต่าง ๆ จากไฟล์ต่าง ๆ มารวมกันก่อน แล้วค่อยสร้างเป็นรายงาน
     2. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน สืบเนื่องจากข้อมูลถูกเก็บแยกจากกัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมความซ้ำซ้อนข้อมูลได้ ทำให้สูญเสียพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น และก่อให้เกิดความผิดพลาดในการดำเนินการกับข้อมูล 3 ลักษณะ ได้แก่
         - ความผิดพลาดจากการเพิ่มข้อมูล(Insertion anomalies)
         - ความผิดพลาดจากการปรับปรุงข้อมูล(Modification anomalies)
         - ความผิดพลาดจากการลบข้อมูล(Deletion anomalies)
      3. มีความขึ้นต่อกันของข้อมูล เนื่องจากโครงสร้างทางกายภาพและการจัดเก็บข้อมูลถูกสร้างโดยการเขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application program) ดังนั้นหากต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล เช่น ชื่อของพนักงาน จากเดิม 20 ตัวอักษร เป็น 30 ตัวอักษร มีขั้นตอนการทำงานดังนี้ 
            1. เปิดไฟล์หลักพนักงานเพื่ออ่านข้อมูล
            2. เปิดไฟล์ชั่วคราวที่มีโครงสร้างคล้ายไฟล์หลัก แต่ปรับโครงสร้างของชื่อพนักงาน จาก 20 ตัวอักษร เป็น 30 ตัวอักษร
            3. อ่านข้อมูลจากไฟล์หลัก และย้ายไปเก็บไว้ในไฟล์ชั่วคราว จนกระทั่งครบทุกรายการ
            4. ลบไฟล์หลักทิ้ง
            5. เปลี่ยนชื่อไฟล์ชั่วครามให้ชื่อเดียวกับไฟล์หลัก
    4. รูปแบบข้อมูลไม่ตรงกัน โครงสร้างข้อมูลจะขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประยุกต์ ถ้าแต่ละฝ่ายใช้ภาษาในการเขียนต่าง ๆ กัน ก็อาจทำให้โครงสร้างข้อมูลของแฟ้มไม่ตรงกัน ทำให้ไม่สามารถนำไฟล์ข้อมูลมาใช้ร่วมกันได้
    5. โปรแกรมที่ใช้งานคงที่ไม่ยืดหยุ่น ระบบแฟ้มข้อมูล มีความขึ้นกับโปรแกรมประยุกต์  ข้อมูลหรือรายงานต่าง ๆ จะถูกกำหนดรูปแบบตายตัวในโปรแกรมแล้ว ดังนั้นหากต้องการรายงานใหม่ จะต้องให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่  ทำให้เสียค่าใช้จ่าย
ข้อ 4 ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
ตอบ  คือระบบที่รวบรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูล (File) ระเบียน (Record) และ เขตข้อมูล (Field) และถูกจัดการด้วยระบบเดียวกัน โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเข้าไปดึงข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเปรียบฐานข้อมูลเสมือนเป็น electronic filing system
ตัวอย่าง.ฐานข้อมูล
1. แฟ้มข้อมูลพนักงานของแผนกบุคคล 
2. แฟ้มข้อมูลเงินเดือนของแผนกจ่ายเงินเดือนและแฟ้มข้อมูลสวัสดิการของแผนกจ่ายเงินเดือน
ข้อ 5 ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
ตอบ  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล,แก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูล,การบริหารจัดการฐานข้อมูลทำได้ง่าย,กำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้,สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้,เกิดความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลกับโปรแกรม,กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้
6.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลอย่างไร
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่   Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น
7. ยกตัวอย่าง ฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ตอบ   การสืบค้นข้อมูลในห้องสมุดเมื่อเราได้ทำการค้นหารายชื่อหนังสือผ่านคอมพิวเตอร์ ระบบก็จะทำการนำข้อมูลที่เราป้อนเข้าไปในระบบไม่ตรวจสอบ รายการหนังสือที่มีอยู่ในฐานข้อมูล ที่ได้มีการลงบันทึกจัดเก็บไว้และถ้ามี ก็จะแสดงรายการหนังสือนั้นออกมา และบอกถึงรายละเอียด หมวดหมู่ ต่างๆ ของหนังสือนั้นๆ


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น