วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น

การบ้านประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

คำถามท้ายบทที่ 4
1.โครงสร้างข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
Field จะเก็บรายละเอียดต่างๆของข้อมูลที่ใช้งาน เช่น ฟิลด์ Name เป็นข้อมูลประเภท Text ในกำหนดประเภทข้องข้อมูลต้องคำนึงถึงว่าจะใช้ในการคำนวณด้วยหรือไม่Record จะประกอบไปด้วยหลายๆฟิลด์จะมีข้อมูลหลากหลายอยู่ในฟิลด์ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อาชีพ เงินเดือน
Table จะเป็นการรวมหลายๆเรคคอร์ด ไว้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ จะเก็บตารางที่มีความสัมพันธ์กันไว้หลายๆ ตาราง
        - ตารางจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน
        - แต่ละฟิลด์จะบรรจุประเภทข้อมูลเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
        - ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดจะต้องไม่ซ้ำกัน
คีย์หลัก(Primary key) หรือเรียกว่า PK หมายถึงฟิลด์ที่มีข้อมูลไม่ซ้ำกัน เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากในระบบฐานข้อมูล เช่นฟิลด์รหัสลูกค้าจะต้องไม่ซ้ำกันซึ่งจะเป็นข้อมูลประเภท Number ใน 1 ตาราง ควรจะมีคีย์หลักได้เพียง 1 คีย์เท่านั้น และในคีย์หลักต้องไม่เป็นค่าว่าง
คีย์นอก(Foreign Key) หรือเรียกว่า FK หมายถึงฟิลด์หรือคอมบิเนชั่น ของตารางหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับฟิลด์ในตารางอื่น (ที่เป็นคีย์หลัก PK ) สามารถเชื่อโยงข้อมูลระหว่างกันได้
คีย์ผสม (Composite Key) คือ การนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Keyเนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดซ้ำซ้อนได้
คีย์คู่แข่ง (Candidates key) คือ ในแต่ละ Relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีน์หลักมากกว่าหนึ่ง Attribute โดยเรียก Attribute เหล่านี้ว่า คีย์คู่แข่ง (Candidates key)
2. คุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นมีอะไรบ้าง
ตอบ       1) ข้อมูลในแต่ละแถวไม่ซ้ำกัน
                2) การเรียงลำดับของข้อมูลในแต่ละแถวไม่เป็นสาระสำคัญ
            3) การเรียงลำดับของ Attribute จะเรียงลำดับก่อนหลังอย่างไรก็ได้
            4) ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute ของ Tuple หนึ่งๆ จะบรรจุข้อมูลได้เพียงค่าเดียว (Single Value )
            5) ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute จะบรรจุค่าของข้อมูลประเภทเดียวกัน
3. รีเลชั่นประกอบด้วยคีย์ประเภทต่างๆ อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อยยกตัวอย่างประกอบประเภทคีย์ดังกล่าว
ตอบ       1) คีย์หลัก (Primary Key ) เป็น Attribute ที่มีคุณสมบัติของข้อมูลที่มีค่าเป็นเอกลักษณ์หรือไม่มีค่าซ้ำกัน โดยคุณสมบัตินั้นจะสามารถระบุว่าข้อมูลนั้นเป็นของ Tuple ใด ตัวอย่างคีย์หลัก (Primary Key ) รหัสนักศึกษา รหัสสินค้า
      2) คีย์ผสม (Composite Key )  การนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกัน  เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Key  เนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดซ้ำซ้อนได้  ตัวอย่างคีย์ผสม ( Composite Key) รีเลชั่นใบส่งของ (Invoice) มีคีย์ คือ แอททริบิวต์เลขที่ใบส่งของ (InvNo) และแอททริบิวต์รหัสสินค้า (ProdNo) เพราะใบส่งของแต่ละใบจะมีรายการสินค้าบรรจุในใบส่งของได้มากกว่า 1 รายการ  ดังนั้นถ้าใช้แอททริบิวต์เลขที่ใบส่งของเพียงตัวเดียวจะไม่สามารถแยกความแตกต่างแต่ละ Tuple ได้

                3) คีย์คู่แข่ง ( Candidates Key ) ในแต่ละ Relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีย์หลักได้มากกว่าหนึ่ง Attribute  โดยเรียก Attribute  เหล่านี้ว่า คีย์คู่แข่ง ( Candidates Key ) ตัวอย่าง คีย์คู่แข่ง( Candidates Key ) นักศึกษาแต่ละคน มีรหัสนักศึกษา รหัสประจำตัวประชาชน 
                โดยเราจะเรียก Candidate Key ที่ถูกเลือกมาใช้เป็นคีย์หลักในตารางว่า Primary Key และเรียก Candidate Key ที่ไม่ถูกเลือกเป็นคีย์หลักว่า คีย์สำรอง ( Alternate Key )
              4) คีย์นอก ( Foreign Key ) คือ คีย์ซึ่งประกอบด้วยแอทริบิวต์หรือกลุ่มของแอทริบิวต์ในรีเลชั่นหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก และไปปรากฏอีกรีเลชั่นหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน         ตัวอย่างคีย์นอก ( Foreign Key ) ถ้าเรามีตาราง สองตารางของลูกค้า อันหนึ่งแสดงข้อมูลของลูกค้า อีกอันแสดงสิ่งที่ลูกค้าสั่งซื้อ   สิ่งที่จะโยงถึงกันก็คือ สินค้าที่ลูกค้าสั่งนั้นจะต้องเกี่ยวโยงกับข้อมูลของลูกค้าที่ปรากฏแล้วในตาราง แบบนี้เราสามารถใช้ foreign key ในข้อมูลของสิ่งของที่ลูกค้าสั่ง แล้วโยงถึง primary key คือข้อมูลของลูกค้า  เช่น primary key จะเป็น ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปี หรือเลขหมายที่ลูกค้าสั่งของ แล้ว foreign key เป็น SID (security identifier) ของลูกค้า
4. Null หมายถึงอะไรใน Relational Database
ตอบ หมายถึง ไม่ทราบค่าข้อมูลที่รู้แน่ชัด เราสามารถกำหนดให้ค่าของคอลัมน์ใดๆ เป็น Null ได้ ยกเว้นคอลัมน์ที่เป็น Primary Key เพราะจะไม่สามารถนำ Primary Key มาใช้เข้าถึงข้อมูลในแต่ละแถวได้
5. เหตุใดจึงต้องมีการนำ Integrity rule  มาใช้ในฐานข้อมูล
ตอบ โครงสร้างฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยหลายๆ รีเลชัน จำเป็นต้องมีการควบคุมข้อมูลให้มีความถูกต้อง เป็นจริง และสามารถนำมาใช้เชื่อมโยงกันได้
6. ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ      
1.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่เข้าใจง่ายที่สุด
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง
2.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One to Many Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดในฐานข้อมูล
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลมากกว่าหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งสามารถมีบัตร ATM ได้หลาย ๆ ธนาคาร


3.ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many to Many Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่พบไม่บ่อยนัก
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในเรคอร์ดใด ๆ ของตารางหนึ่งมีค่าตรงกับข้อมูลของหลาย ๆ เรคอร์ดในตารางอื่น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น บาร์โคดหนึ่งอันสามารถกำหนดตัวเลขได้หลาย ๆ แบบ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น


การบ้านวันที่  17  พฤศจิกายน  2553


คำถามท้ายบทที่  3
1. การแบ่งสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ  
ตอบ
1.ผู้ใช้แต่ละคนสามารถนำข้อมูลชุดเดียวกัน มาใช้งานที่แตกต่างกัน และจัดรูปแบบการแสดงผลต่างๆ ให้แตกต่างกันตามความต้องการ ของผู้ใช้แต่ละคนได้ โดยไม่กระทบกับโครงสร้าง ของการจัดเก็บข้อมูลจริง หรือกระทบโครงสร้างในระดับแนวความคิด
      2.เพื่อวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศของผู้ที่ใช้เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ออกแบบฐานข้อมูล ว่าควรจะเก็บข้อมูล  อะไรบ้างและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเป็นอย่างไร
      3.ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกอ่านข้อมูลเฉพาะที่ตนเองสนใจหรือต้องการใช้เท่านั้น
      4.เพื่อตัดสินใจว่าจะใช้อุปกรณ์ใดเป็นตัวเก็บข้อมูล วิธีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อค้นหาหรือปรับปรุงข้อมูลจะใช้วิธีการใด   รวมถึงวิธีการบำรุงรักษา และการเพิ่มประสิทธิภาพของฐานข้อมูล ผู้ใช้งานฐานข้อมูลทั่วไปไม่ต้อง  ยุ่งเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในระดับภายในนี้เลย
/2.ความเป็นอิสระของข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการจัดการฐานข้อมูล  จงอธิบาย
ตอบ
     ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโปรแกรมทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือข้อมูลในระดับแนวคิดและระดับภายใน โดยจะปล่อยให้ DBMS เป็นตัวจัดการเชื่อมข้อมูลระดับภายนอกกับระดับแนวคิด และระดับแนวคิดกับระดับภายในเอง ความอิสระของข้อมูลจะมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้
      1.ความอิสระของข้อมูลทางลอจิคัล (Logical Data Independence) คือ การเปลี่ยนแปลง คือ การเปลี่ยนแปลงในโครงร่างแนวคิด เช่น การเพิ่ม การเปลี่ยนแปลง Attribute หรือ ความสัมพันธ์ใด ๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงร่างภายนอกที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่
      2.ความอิสระของข้อมูลทางฟิสิคอล (Physical Data Independence) คือ ผลของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไฟล์นั้นจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อ โครงร่างแนวคิดและระดับภายใน เช่น เปลี่ยนโครงสร้างไฟล์แบบเรียงลำดับ เป็นแบบดัชนี, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลด้วยการใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างไปจากเดิม
3.ปัญหาที่สำคัญของ  Hierarchical  Model  คืออะไร  และเหตุใด  Hierarchical  Model  จึงไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด
ตอบ
      ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น Hierarchical  Model  เป็นฐานข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ โครงสร้างต้นไม้ (tree structure) เป็นโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้เป็นลำดับชั้น ซึ่งแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา  หรือที่เรียกว่า เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type)
ข้อเสียของ  Hierarchical  Model
     1.Record ลูก ไม่สามารถมี record พ่อหลายคนได้ เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 วิชา
     2.มีความยืดหยุ่นน้อย เพราะการปรับโครงสร้างของ Tree ค่อนข้างยุ่งยาก
     3.หากข้อมูลมีจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงที่ต้นกำเนิดของข้อมูล
4.เหตุใด  Network  Model  ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้งาน
ตอบ
Ø  ลักษณะฐานข้อมูลนี้จะคล้ายกับลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่ในลักษณะฐานข้อมูลแบบเครือข่ายนี้สามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า 1  และยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว
Ø  ลักษณะโครงสร้างระบบฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะมีโครงสร้างของข้อมูลแต่ละแฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์คล้ายร่างแห
ข้อเสียของ Network  Model
Ø  ความสัมพันธ์ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันไปมาทำให้ยากต่อการใช้งาน
Ø  ผู้ใช้ต้องเข้าใจโครงสร้างของฐานข้อมูล
Ø  เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่คุ้นเคย ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
Ø มีค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองพื้นที่ในหน่วยความจำเพราะจะเสียพื้นที่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำหรับตัวบ่งชี้มาก
Ø  โครงสร้างแบบเครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ง่ายไม่ซับซ้อนเนื่องจากไม่ต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน  จึงทำให้ป้องกันความลับของข้อมูลได้ยาก
5.สิ่งที่ทำให้  Relational  Model  ได้รับความนิยมอย่างมากมาย  คืออะไร  จงอธิบาย
ตอบ
     เป็นการจัดข้อมูลในรูปแบบของตาราง 2 มิติ คือมี  แถว (Row) และ คอลัมน์ (Column)   โดยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะใช้ Attribute ที่มีอยู่ทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล
ข้อดีของ Relational  Model
Ø  เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล
Ø  ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้ดี
Ø  การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้
Ø  เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลในตารางจะใช้วิธีเปรียบเทียบค่าของข้อมูลแทน โดยไม่ต้องรู้ว่าข้อมูลนั้นเก็บอย่างไร โดยแค่บอกกับ DBMS ว่าต้องการข้อมูลจากตารางใด ที่มีค่าในคอลัมน์ใด เป็นต้น
Ø  ง่ายในการทำความเข้าใจ



วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งานครั้งที่ 2 วิชาการจัดระบบครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมิวเตอร์ (3503201) ตอนเรียน A1

1. skype
Skype (อ่านออกเสียงว่า สไคพ์)  คือ โปรแกรม ประเภท  Peer-to-Peer ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย  IP  (VoIP) บน Internet      Skype users สามารถพูดคุยหรือประชุมกันได้, ส่ง message, รับ/ส่ง ไฟล์ รวมไปถึงติดต่อกันด้วย webcams ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้นทางหรือปลายทาง เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์บ้าน, โทรศัพท์มือถือ และ PDA 
            การทำงานหลัก ๆ ของ Skype นั้น จะคล้ายกับโปรแกรม MSN และ Yahoo messager แต่แตกต่างกันที่ Protocol และเทคนิคในการส่งข้อมูล  จึงทำให้ Skype มีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า MSN และ Yahoo messenger และข้อมูลที่รับส่งทุกอย่างจะมีการเข้ารหัสด้วยเทคโนโลยี RC4 
ผู้ใช้สามารถ download โปรแกรม Skype ฟรีจากอินเทอร์เน็ตได้ ผู้ใช้สามารถทำการโทรศัพท์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ถึง เครื่องคอมพิวเตอร์(PC to PC) หรือ การโทรศัพท์จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ ถึงโทรศัพท์บ้านทั่วไป (PC to Phone) รวมทั้งการโทรไปยังปลายทาง ที่เป็นโทรศัพท์มือถือด้วยเช่นกัน ดังนั้นการโทรศัพท์ ผ่านโปรแกรม Skype จึงเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากมาย
อ้างอิง
http://www.lpho.go.th/telemed/what_skype.php

2. Topology
โทโปโลยี  คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)  เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป 


3.    โทโปโลยีแบบดาว (STAR) 
          เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป 

4.   โทโปโลยีแบบ Hybrid 
        
        เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

5.โทโปโลยีแบบ MESH 
        

         เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
แหล่งอ้างอิง
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5

3. อุปกรณ์ด้านเครือข่าย  ไวแมกซ์
ไวแมกซ์ (WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 และได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16d ให้รองรับการทำงานแบบจุดต่อจุด ขึ้นโดยได้เผยแพร่เอกสารมาตรฐานฉบับสมบูรณ์เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE: Institute of Electrical and Electronics Engineers) ในช่วงแรกมาตรฐาน IEEE802.16 ได้ออกแบบให้ส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุด(Point-to-Point) จึงทำให้ส่งข้อมูลได้ระยะไกลส่งข้อมูลได้ระยะห่าง 30 ไมล์ (ประมาณ 50 กิโลเมตร) ด้วยอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
จากความต้องการใช้งานบอร์ดแบนด์ไร้สายในขณะเคลื่อนที่ทำให้สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้กำหนดมาตรฐาน IEEE802.16 ทำการศึกษาและพัฒนามาตรฐาน IEEE802.16 ให้รองรับการใช้งานแบบเคลื่อนที่โดยตั้งชื่อกลุ่มว่า IEEE 802.16e มาตรฐานใหม่นี้มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง (ต้นไม้ อาคาร) ได้เป็นอย่างดี มาตรฐาน IEEE 802.16e นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์(GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐาน IEEE802 ชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
Dmn wimax-signal.jpg
จากจุดเด่นข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกลที่สายเคเบิลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น ไวแมกซ์ ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (video) งานเสียง (voice) และข้อมูล (data) ภายใต้เทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายไร้สายชื่อว่า OFDMA อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้รับอนุญาต (authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่ายและข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C

4. IEEE 802.3
มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่ามีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps


5. IEEE 802.5
เป็นระบบเครือข่ายวงแหวนได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้งานทั้งในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณและระบบเครือข่ายวงกว้าง  โครงสร้างแบบวงแหวนนั้นที่จริงก็คือการเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด เรียงลำดับเป็นรูปวงกลมพอดี สายสื่อสารอาจเป็นแบบธรรมดา เช่น  สายคู่ตีเกลียว  สายโคแอกซ์  หรือสายใยแก้วก็ได้     สัญญาณที่ใช้ในระบบนี้อาจเป็นแบบดิจิตอลหรือแบบอนาล็อกก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้นระบบวงแหวนยังสามารถคำนวณระยะเวลารอคอยที่ค่อนข้างคงที่ได้    ด้วยเหตุผลเหล่านี้  บริษัท  IBM จึงเลือกระบบเครือข่ายวงแหวนเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณของตนเอง ส่วน IEEE ก็ได้ออกมาตรฐานรองรับโดยกำหนดรหัสหมายเลขเป็น 802.5   ข้อพิจารณาหลักของระบบเครือข่ายวงแหวนคือการกำหนดระยะเวลาหรือความยาวของการส่งสัญญาณแต่ละบิต


6. IEEE 802.11a
เป็นมาตราฐานระบบเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานที่ย่านความถี่ 5 GHz มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 54 Mbps ที่ความเร็วนี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น เช่น 54, 48, 36, 24 และ 11 เมกกะบิตเป็นต้น ในขณะที่คลื่นความถี่ 5 GHz นี้ยังไม่ได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังนั้นปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่จึงมีน้อย ต่างจากคลื่นความถี่ 2.4 GHz ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้สัญญาณของคลื่นความถี่ 2.4 GHz ถูกรบกวนจากอุปกรณ์ประเภทอื่นที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันได้ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 300 ฟิตจากจุดกระจายสัญญาณ Access Point หากเทียบกับมาตราฐาน 802.11b แล้ว ระยะทางจะได้น้อยกว่า 802.11b ที่คลื่นความถี่ต่ำกว่า และทั้ง 2 มาตราฐานนี้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ขณะที่ประเทศไทยไม่อนุญาติให้ใช้คลื่นความถี่ 5 GHz จึงไม่เห็นอุปกรณ์ WLAN มาตราฐาน 802.11a จำหน่ายในประเทศไทย แต่ความเร็ว 54 Mbps สามารถใช้งานได้ที่มาตราฐาน 802.11b
7. IEEE 802.11b

เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying)ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาต ให้ใช้งานในแบบ สาธารณะ

8.IEEE 802.11g         
มาตราฐานนี้เป็นมาตราฐานใหม่ที่ความถี่ 2.4 GHz โดยสามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 36 - 54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตราฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ (ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน) มาตราฐานนี้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่ 802.11b ในอนาคตอันใกล้นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีบางผลิตภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวเข้ามาเสริมทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เป็น 108 Mbps แต่ต้องทำงานร่วมกันเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งความสามารถนี้เกิดจากชิป (Chip) กระจายสัญญาณของตัวอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณเป็น 2 เท่าของการรับส่งสัญญาณได้ แต่ปัญหาของการกระจายสัญญาณนี้จะมีผลทำให้อุปกรณ์ไร้สายในมาตราฐาน 802.11b
 
9.IEEE 802.11n
IEEE802.11n เป็นมาตรฐานใหม่ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ IEEE802.11g ซึ่งสามารถทำการรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าที่อัตรา 100-540 Mbps ที่ความถี่ 2.4 GHz ซึ่งถ้าดูที่ตัวอุปกรณ์ก็เห็นว่าได้เพิ่มจำนวนของเสาขึ้นมาเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลที่เร็วกว่าและ ได้ไกลกว่า 
ที่มา