วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น การบ้านบทที่ 5 ประจำวันที่ 8 ธ.ค. 2553

1. องค์ประกอบที่สำคัญของแบบจำลองอี อาร์ มีอะไรบ้าง
   ตอบ  ส่วนประกอบสำคัญของแบบจำลอง อีอาร์ มี 3 ส่วนคือ
            1. เอนทิตี ( Entity )
           
2. แอทริบิวต์ ( Attribute )
           
3. ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี
ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของแต่ละส่วนประกอบดังนี้
1.เอนทิตี้
    เอนทิตี้ หมายถึง สิ่งที่สนใจสามารถระบุได้ในความเป็นจริง และต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยไว้ในฐานข้อมูล ตัวอย่างของเอนทิตี้ประเภทต่างๆ เช่น บุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ มีดังนี้
        - บุคคล     ได้แก่ พนักงาน ผู้ป่วย และ นักศึกษา เป็นต้น
        - สถานที่    ได้แก่ เขต จังหวัด และ ภาค เป็นต้น
        - วัตถุ        ได้แก่ รถยนต์ อาคาร และ เครื่องจักร เป็นต้น
        - เหตุการณ์ ได้แก่ การลงทะเบียนเรียน ความชำนาญ เป็นต้น
      ในอี-อาร์ไดอะแกรม ใช้สัญลักษณ์รูสี่เหลี่ยมผืนผ้า แทนหนึ่งเอนทิตี้โดยมีชื่อเอนทิตี้นั้นกำกับอยู่ภายใน เอนทิตี้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ เอนทิตี้ปกติ(Regular Entity) และ เอนทิตี้อ่อนแอ (Weak Entity)
2. Attribute
        Attribute หมายถึง ข้อมูลที่แสดงคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของเอนทิตี้หรือความสัมพันธ์ใน อี-อาร์ไดอะแกรมใช้สัญลักษณ์วงรี ที่มีชื่อของ Attribute นั้นกำกับอยู่ภายในแทนหนึ่ง Attribute และเชื่อมต่อกับเอนทิตี้ที่มี Attribute นั้นด้วยเส้นตรงAttribute สามารถจำแนกได้เป็น 6 ประเภท คือ Simple Attribute ,Composite Attribute ,Key Attribute ,single Attribute, Multi-Valued Attribute และ Derived Attribute

3. ความสัมพันธ์
        ความสัมพันธ์ หมายถึง เอนทิตี้ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองเอนทิตี้ขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ที่มี Attribute ร่วมกัน โดยแต่ละความสัมพันธ์จะถูกระบุด้วยชื่อที่อธิบายถึงความสัมพันธ์นั้นๆ เช่น ความสัมพันธ์สังกัด แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้หนังสือและเอนทิตี้ประเภทหนังสือ

2. จงอธิบายความหมายและสัญลักษณ์ของคำต่อไปนี้
ตอบ     2.1 เอนทิตี หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม  อาจได้แก่  คน  สถานที่ 
สิ่ง ของ  การกระทำ  ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้  เช่น เอนทิตี้ของลูกค้า เอนทิตี้ของพนักงาน เป็นต้น  บางเอนทิตี้อาจจะไม่มีความหมายเลย  หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล  เช่น  เอนทิตี้ประวัตินักสึกษาจะไม่มีความหมาย  หากปราศจากเอนทิตี้นักศึกษา  เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของนักศึกษาคนใด
                        2.2 รีเลชันชิพ คือ ความสัมพันธ์ซึ่งเป็นลักษณะการเกี่ยวพันกัน ระหว่างเอนทิตี้หนึ่งกับตัวมันเองหรือ  เอนทิตี้อื่น   อาจเป็นความสัมพันธ์ที่มากกว่า  2  เอนทิตี้ก็ได้  เช่น  แผนกจัดซื้อทำการสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ
                        2.3 แอตทรีบิวต์ คือ กลุ่ม ของค่าความจริงใด ๆ ที่เป็นรายละเอียดของเอนทิตี้ซึ่งแสดงลักษณะ และ        คุณสมบัติของเอนทิตี้  ทำให้เข้าใจเอนทิตี้ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น  และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแตกย่อยลงไปได้อีกโดยไม่เสียความหมายไป  เช่น  รหัสสินค้า, สถานที่เก็บชื่อสินค้า, ราคา  นอกจากนั้นยังมีการระบุด้วยว่าแอตทริบิวต์ใดเป็นคีย์กำหนดกฎข้อบังคับต่าง ๆ ของเอนทิตี้และรีเลชันชิป
                        2.4 คอมโพสิตแอทริบิวต์  หมาย ถึง แอททริบิวต์ที่ประกอบด้วยแอททริบิวต์หลายตัวมารวมกัน  และให้ความหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ที่อยู่  ประกอบด้วยแอททริบิวต์ย่อยคือ บ้านเลขที่  ถนน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด เป็นต้น
                        2.5 แอทริบิวต์ที่ทีหลายค่า คือ แอททริบิวต์ที่มีค่าได้มากกว่า  1  ค่า  เช่น  บุคคลหนึ่งสามารถมีวุฒิการศึกษาได้มากกว่า  1  วุฒิ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เส้นคู่แล้วเชื่อมโยงไปยังแอททริบิวต์


3. คอมโพสิตเอนทิตี้มีความสำคัญอย่างไรในการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
   ตอบ    เอนทิตีที่สร้างขึ้นเพื่อแปลงความสัมพันธ์ระหว่างแบบกลุ่มต่อกลุ่มให้เป็นหนึ่งต่อกลุ่ม โดยนำเอาคีย์หลักของทั้งสองเอนทิตีมาเป็นแอททริบิวต์ของเอนทิตีใหม่   เช่น  ความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับใบสั่งซื้อเป็นเแบบกลุ่มต่อกลุ่ม คือใบสั่งซื้อหนึ่งใบมีสินค้าได้หลายรายการ และสินค้าแต่ละรายการถูกสั่งซื้อโดยใบสั่งซื้อหลาย ๆ ใบ  ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่มก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลจึงลดความซ้ำซ้อน โดยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม โดยการสร้างคอมโพสิตเอนทิตี
4. เอนทิตีอ่อนแอคืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร
   ตอบ เอนทิตี้อ่อนแอ หมายถึง เอนทิตี้ที่มีการคงอยู่เกี่ยวข้องกับเอนทิตี้อื่นในระบบฐานข้อมูล ดดยเอนทิตี้อื่นที่มีความสัมพันธ์กับเอนทิตี้นี้เรียกว่า Parent Entity หรืออาจกล่าวได้ว่าเอนทิตี้อ่อนแอจะไม่มีความหมายหรือไม่สามารถปรากฏในฐานข้อมูลได้ หากปราศจาก Parent Entity ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันซึ่งสมาชิกของเอนทิตี้อ่อนแอจะสามารถมีคุณสมบัติ Identity ได้ก็ต่อเมื่ออาศัย Attribute ใด Attribute หนึ่งของเอนทิตี้ปกติมาประกอบกับ Attribute ของเอนทิตี้นั้นๆ ในอี-อาร์ไดอะแกรมใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองรูปซ้อนกันแทนหนึ่งเอนทิตี้อ่อนแอ โดยชื่อของเอนทิตี้อ่อนแอนั้นๆกำกับอยู่ภายใน

 

5. จากตารางข้อมูลที่กำหนดให้
5.1 จงเขียน E-R Diagram แสดงความสำคัญของตาราง
 ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อกำหนดของระบบงาน
- ข้อมูลหนังสือแต่ละรายการ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสือ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์
- ข้อมูลผู้แต่งหนังสือ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสผู้แต่ง , ชื่อผู้แต่ง
- ข้อมูลสำนักพิมพ์ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสสำนักพิมพ์ , ชื่อสำนักพิมพ์, ที่อยู่, โทรศัพท์ 
 ขั้นที่ 2 กำหนดเอนทิตี้ (Entity)
1. ผู้แต่ง  
2.หนังสือ
3.สำหนักพิมพ์
 ขั้นที่ 3 กำหนดความสัมพันธ์ของแต่ละเอนทิตี้ (Entity)
- หนังสือแต่ละเล่มจะถูกพิมพ์จากสำนักพิมพ์ใดสำนักพิมพ์หนึ่งเท่านั้นแต่ละสำนักพิมพ์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้หลายรายการ
- หนังสือแต่ละเล่มจะมีผู้แต่งได้เพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ผู้แต่งแต่ละคนสามารถจะแต่งหนังสือได้หลายเล่ม
                        2.6 ดีไรฟต์แอทริบิวต์ คือ  แอททริบิวต์ที่ได้ค่ามาจากการคำนวณของแอททริบิวต์อื่น  เช่น อายุได้มาจาก วันเดือนปีเกิด  แทนด้วยสัญลักษณ์เส้นประที่เชื่อมโยงไปยังแอททริบิวต์

5.2 จงบอกว่าแต่ละตารางมี Field ใดเป็น Primary Key
ตอบ   - ในตารางผู้แต่งจะมี Field รหัสผู้แต่ง เป็น Primary Key
           - ในตารางสำนักพิมพ์จะมี Field รหัสสำนักพิมพ์ เป็น Primary Key
           - ในตารางหนังสือจะมี Field รหัสหนังสือ เป็น Primary Key

5.3 สำหรับตารางที่มี Foreign Key จงบอกว่าเป็น Field ใดและมีความสัมพันธ์กับ Field ใดในตารางใด
ตอบ   จากฐานข้อมูลของระบบหนังสือจะประกอบไปด้วยตาราง 3 ตาราง ซึ่งแต่ละตารางจะมี Field ที่เชื่อมโยงถึงกันทั้ง 3 ตาราง
          - ตารางผู้แต่ง (รหัสผู้แต่ง, ชื่อผู้แต่ง)
          - ตารางสำนักพิมพ์ (รหัสสำนักพิมพ์, ชื่อสำนักพิมพ์, โทรศัพท์)
          - ตารางหนังสือ (รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสื่อ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น

การบ้านประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

คำถามท้ายบทที่ 4
1.โครงสร้างข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
Field จะเก็บรายละเอียดต่างๆของข้อมูลที่ใช้งาน เช่น ฟิลด์ Name เป็นข้อมูลประเภท Text ในกำหนดประเภทข้องข้อมูลต้องคำนึงถึงว่าจะใช้ในการคำนวณด้วยหรือไม่Record จะประกอบไปด้วยหลายๆฟิลด์จะมีข้อมูลหลากหลายอยู่ในฟิลด์ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อาชีพ เงินเดือน
Table จะเป็นการรวมหลายๆเรคคอร์ด ไว้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ จะเก็บตารางที่มีความสัมพันธ์กันไว้หลายๆ ตาราง
        - ตารางจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน
        - แต่ละฟิลด์จะบรรจุประเภทข้อมูลเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
        - ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดจะต้องไม่ซ้ำกัน
คีย์หลัก(Primary key) หรือเรียกว่า PK หมายถึงฟิลด์ที่มีข้อมูลไม่ซ้ำกัน เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากในระบบฐานข้อมูล เช่นฟิลด์รหัสลูกค้าจะต้องไม่ซ้ำกันซึ่งจะเป็นข้อมูลประเภท Number ใน 1 ตาราง ควรจะมีคีย์หลักได้เพียง 1 คีย์เท่านั้น และในคีย์หลักต้องไม่เป็นค่าว่าง
คีย์นอก(Foreign Key) หรือเรียกว่า FK หมายถึงฟิลด์หรือคอมบิเนชั่น ของตารางหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับฟิลด์ในตารางอื่น (ที่เป็นคีย์หลัก PK ) สามารถเชื่อโยงข้อมูลระหว่างกันได้
คีย์ผสม (Composite Key) คือ การนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Keyเนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดซ้ำซ้อนได้
คีย์คู่แข่ง (Candidates key) คือ ในแต่ละ Relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีน์หลักมากกว่าหนึ่ง Attribute โดยเรียก Attribute เหล่านี้ว่า คีย์คู่แข่ง (Candidates key)
2. คุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นมีอะไรบ้าง
ตอบ       1) ข้อมูลในแต่ละแถวไม่ซ้ำกัน
                2) การเรียงลำดับของข้อมูลในแต่ละแถวไม่เป็นสาระสำคัญ
            3) การเรียงลำดับของ Attribute จะเรียงลำดับก่อนหลังอย่างไรก็ได้
            4) ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute ของ Tuple หนึ่งๆ จะบรรจุข้อมูลได้เพียงค่าเดียว (Single Value )
            5) ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute จะบรรจุค่าของข้อมูลประเภทเดียวกัน
3. รีเลชั่นประกอบด้วยคีย์ประเภทต่างๆ อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อยยกตัวอย่างประกอบประเภทคีย์ดังกล่าว
ตอบ       1) คีย์หลัก (Primary Key ) เป็น Attribute ที่มีคุณสมบัติของข้อมูลที่มีค่าเป็นเอกลักษณ์หรือไม่มีค่าซ้ำกัน โดยคุณสมบัตินั้นจะสามารถระบุว่าข้อมูลนั้นเป็นของ Tuple ใด ตัวอย่างคีย์หลัก (Primary Key ) รหัสนักศึกษา รหัสสินค้า
      2) คีย์ผสม (Composite Key )  การนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกัน  เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Key  เนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดซ้ำซ้อนได้  ตัวอย่างคีย์ผสม ( Composite Key) รีเลชั่นใบส่งของ (Invoice) มีคีย์ คือ แอททริบิวต์เลขที่ใบส่งของ (InvNo) และแอททริบิวต์รหัสสินค้า (ProdNo) เพราะใบส่งของแต่ละใบจะมีรายการสินค้าบรรจุในใบส่งของได้มากกว่า 1 รายการ  ดังนั้นถ้าใช้แอททริบิวต์เลขที่ใบส่งของเพียงตัวเดียวจะไม่สามารถแยกความแตกต่างแต่ละ Tuple ได้

                3) คีย์คู่แข่ง ( Candidates Key ) ในแต่ละ Relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีย์หลักได้มากกว่าหนึ่ง Attribute  โดยเรียก Attribute  เหล่านี้ว่า คีย์คู่แข่ง ( Candidates Key ) ตัวอย่าง คีย์คู่แข่ง( Candidates Key ) นักศึกษาแต่ละคน มีรหัสนักศึกษา รหัสประจำตัวประชาชน 
                โดยเราจะเรียก Candidate Key ที่ถูกเลือกมาใช้เป็นคีย์หลักในตารางว่า Primary Key และเรียก Candidate Key ที่ไม่ถูกเลือกเป็นคีย์หลักว่า คีย์สำรอง ( Alternate Key )
              4) คีย์นอก ( Foreign Key ) คือ คีย์ซึ่งประกอบด้วยแอทริบิวต์หรือกลุ่มของแอทริบิวต์ในรีเลชั่นหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก และไปปรากฏอีกรีเลชั่นหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน         ตัวอย่างคีย์นอก ( Foreign Key ) ถ้าเรามีตาราง สองตารางของลูกค้า อันหนึ่งแสดงข้อมูลของลูกค้า อีกอันแสดงสิ่งที่ลูกค้าสั่งซื้อ   สิ่งที่จะโยงถึงกันก็คือ สินค้าที่ลูกค้าสั่งนั้นจะต้องเกี่ยวโยงกับข้อมูลของลูกค้าที่ปรากฏแล้วในตาราง แบบนี้เราสามารถใช้ foreign key ในข้อมูลของสิ่งของที่ลูกค้าสั่ง แล้วโยงถึง primary key คือข้อมูลของลูกค้า  เช่น primary key จะเป็น ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปี หรือเลขหมายที่ลูกค้าสั่งของ แล้ว foreign key เป็น SID (security identifier) ของลูกค้า
4. Null หมายถึงอะไรใน Relational Database
ตอบ หมายถึง ไม่ทราบค่าข้อมูลที่รู้แน่ชัด เราสามารถกำหนดให้ค่าของคอลัมน์ใดๆ เป็น Null ได้ ยกเว้นคอลัมน์ที่เป็น Primary Key เพราะจะไม่สามารถนำ Primary Key มาใช้เข้าถึงข้อมูลในแต่ละแถวได้
5. เหตุใดจึงต้องมีการนำ Integrity rule  มาใช้ในฐานข้อมูล
ตอบ โครงสร้างฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยหลายๆ รีเลชัน จำเป็นต้องมีการควบคุมข้อมูลให้มีความถูกต้อง เป็นจริง และสามารถนำมาใช้เชื่อมโยงกันได้
6. ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ      
1.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่เข้าใจง่ายที่สุด
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง
2.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One to Many Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดในฐานข้อมูล
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลมากกว่าหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งสามารถมีบัตร ATM ได้หลาย ๆ ธนาคาร


3.ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many to Many Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่พบไม่บ่อยนัก
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในเรคอร์ดใด ๆ ของตารางหนึ่งมีค่าตรงกับข้อมูลของหลาย ๆ เรคอร์ดในตารางอื่น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น บาร์โคดหนึ่งอันสามารถกำหนดตัวเลขได้หลาย ๆ แบบ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น


การบ้านวันที่  17  พฤศจิกายน  2553


คำถามท้ายบทที่  3
1. การแบ่งสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ  
ตอบ
1.ผู้ใช้แต่ละคนสามารถนำข้อมูลชุดเดียวกัน มาใช้งานที่แตกต่างกัน และจัดรูปแบบการแสดงผลต่างๆ ให้แตกต่างกันตามความต้องการ ของผู้ใช้แต่ละคนได้ โดยไม่กระทบกับโครงสร้าง ของการจัดเก็บข้อมูลจริง หรือกระทบโครงสร้างในระดับแนวความคิด
      2.เพื่อวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศของผู้ที่ใช้เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ออกแบบฐานข้อมูล ว่าควรจะเก็บข้อมูล  อะไรบ้างและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเป็นอย่างไร
      3.ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกอ่านข้อมูลเฉพาะที่ตนเองสนใจหรือต้องการใช้เท่านั้น
      4.เพื่อตัดสินใจว่าจะใช้อุปกรณ์ใดเป็นตัวเก็บข้อมูล วิธีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อค้นหาหรือปรับปรุงข้อมูลจะใช้วิธีการใด   รวมถึงวิธีการบำรุงรักษา และการเพิ่มประสิทธิภาพของฐานข้อมูล ผู้ใช้งานฐานข้อมูลทั่วไปไม่ต้อง  ยุ่งเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในระดับภายในนี้เลย
/2.ความเป็นอิสระของข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการจัดการฐานข้อมูล  จงอธิบาย
ตอบ
     ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโปรแกรมทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือข้อมูลในระดับแนวคิดและระดับภายใน โดยจะปล่อยให้ DBMS เป็นตัวจัดการเชื่อมข้อมูลระดับภายนอกกับระดับแนวคิด และระดับแนวคิดกับระดับภายในเอง ความอิสระของข้อมูลจะมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้
      1.ความอิสระของข้อมูลทางลอจิคัล (Logical Data Independence) คือ การเปลี่ยนแปลง คือ การเปลี่ยนแปลงในโครงร่างแนวคิด เช่น การเพิ่ม การเปลี่ยนแปลง Attribute หรือ ความสัมพันธ์ใด ๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงร่างภายนอกที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่
      2.ความอิสระของข้อมูลทางฟิสิคอล (Physical Data Independence) คือ ผลของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไฟล์นั้นจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อ โครงร่างแนวคิดและระดับภายใน เช่น เปลี่ยนโครงสร้างไฟล์แบบเรียงลำดับ เป็นแบบดัชนี, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลด้วยการใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างไปจากเดิม
3.ปัญหาที่สำคัญของ  Hierarchical  Model  คืออะไร  และเหตุใด  Hierarchical  Model  จึงไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด
ตอบ
      ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น Hierarchical  Model  เป็นฐานข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ โครงสร้างต้นไม้ (tree structure) เป็นโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้เป็นลำดับชั้น ซึ่งแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา  หรือที่เรียกว่า เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type)
ข้อเสียของ  Hierarchical  Model
     1.Record ลูก ไม่สามารถมี record พ่อหลายคนได้ เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 วิชา
     2.มีความยืดหยุ่นน้อย เพราะการปรับโครงสร้างของ Tree ค่อนข้างยุ่งยาก
     3.หากข้อมูลมีจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงที่ต้นกำเนิดของข้อมูล
4.เหตุใด  Network  Model  ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้งาน
ตอบ
Ø  ลักษณะฐานข้อมูลนี้จะคล้ายกับลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่ในลักษณะฐานข้อมูลแบบเครือข่ายนี้สามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า 1  และยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว
Ø  ลักษณะโครงสร้างระบบฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะมีโครงสร้างของข้อมูลแต่ละแฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์คล้ายร่างแห
ข้อเสียของ Network  Model
Ø  ความสัมพันธ์ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันไปมาทำให้ยากต่อการใช้งาน
Ø  ผู้ใช้ต้องเข้าใจโครงสร้างของฐานข้อมูล
Ø  เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่คุ้นเคย ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
Ø มีค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองพื้นที่ในหน่วยความจำเพราะจะเสียพื้นที่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำหรับตัวบ่งชี้มาก
Ø  โครงสร้างแบบเครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ง่ายไม่ซับซ้อนเนื่องจากไม่ต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน  จึงทำให้ป้องกันความลับของข้อมูลได้ยาก
5.สิ่งที่ทำให้  Relational  Model  ได้รับความนิยมอย่างมากมาย  คืออะไร  จงอธิบาย
ตอบ
     เป็นการจัดข้อมูลในรูปแบบของตาราง 2 มิติ คือมี  แถว (Row) และ คอลัมน์ (Column)   โดยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะใช้ Attribute ที่มีอยู่ทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล
ข้อดีของ Relational  Model
Ø  เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล
Ø  ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้ดี
Ø  การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้
Ø  เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลในตารางจะใช้วิธีเปรียบเทียบค่าของข้อมูลแทน โดยไม่ต้องรู้ว่าข้อมูลนั้นเก็บอย่างไร โดยแค่บอกกับ DBMS ว่าต้องการข้อมูลจากตารางใด ที่มีค่าในคอลัมน์ใด เป็นต้น
Ø  ง่ายในการทำความเข้าใจ